วิธีสังเกตอาการ ลูกเป็น “สมาธิสั้น” หรือ แค่ซน…

ภาพอาการลูกเป็นสมาธิสั้น

ถ้าพูดถึงความซนของเด็กๆ นั้น ต้องบอกเลยว่า ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ซน ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้และสนุกกับสิ่งต่างๆ มีความอยากรู้ อยากลองสิ่งใหม่ๆ ความซนจึงของคู่กันกับเด็กๆ แต่ด้วยความซนของเด็กแต่คนก็จะไม่เท่ากัน บางรายซนเอามากๆ บางรายก็ซนน้อย ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเกิดความสงสัยและกังวลขึ้นมา ว่าลูกเรานั้นเป็น “สมาธิสั้น” หรือ แค่ซนตามวัยกันแน่นะ…..

“สมาธิสั้น” คือโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกช่วงวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก อายุ 3 – 7 ปี อาการจะแสดงต่างกันแล้วแต่บางราย บางรายที่เป็นไม่เยอะจะแสดงอาการหลังอายุ 7 ปี ขึ้นไป และในบางรายที่เป็นมากก็เริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป

อาการ “สมาธิสั้น” ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง (กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ชาย)  บางรายมีอาการขาดสมาธิ เหม่อลอย วอกแวกง่าย (กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ชาย) และบางรายอาจจะมีอาการสมาธิสั้นร่วมทั้งกลุ่มได้

อาการ “สมาธิสั้น” กลุ่มที่ 1 : อาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น

เด็กกลุ่มนี้ จะมีอาการที่ซนกว่าปกติ อยู่นิ่งไม่ได้ หยุกหยิกตลอดเวลา เนื่องจากมีความบกพร่องในการควบคุมการ แสดงออกทางพฤติกรรม ทำให้เด็กมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กคนอื่นๆ ทั้งการเคลื่อนไหว การเล่น รวมไปถึงจะมีอาการพูดมากกว่าปกติ เสียงกัง โวยวาย

วิธีสังเกตอาการ “สมาธิสั้น” กลุ่ม อยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น

  • ยุกยิกๆ นั่งไม่นิ่ง หรือนั่งไม่ติดที่ เช่น ชอบลุกจากที่นั่งห้องเรียน
  • มักวิ่งไปวิ่งมา ชอบปีนป่ายมาก
  • พูดมาก เสียงดัง ชอบพูดไม่หยุด
  • ตื่นตัวตลอดเวลา
  • ชอบพูดแทรกหรือตอบคำถามก่อน ทั้งที่ยังฟังคำถามไม่จบ
  • รอคอยได้ไม่นาน

ถ้าหากมีอาการตามนี้ทั้งหมดทุกข้อหรือมีมากกว่า 4 ข้อขึ้นไป บ่งบอกว่าเด็กกำลังเป็น “สมาธิสั้น” หรือเข้าข่ายสมาธิสั้น

อยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น ไม่ใช่อาการซนตามวัยแน่นอน

อาการ “สมาธิสั้น” กลุ่มที่ 2 : อาการขาดสมาธิ

เด็กกลุ่มนี้ จะมีอาการขาดสมาธิ วอกแวกกับสิ่งเร้ารอบตัวได้ง่าย ชอบเหม่อลอย หลงลืม จนทำให้ของหายบ่อย หรือทำงานเสร็จช้า ไม่รอบคอบ ทำให้ขาดความไม่มีระเบียบวินัย

วิธีสังเกตอาการ “สมาธิสั้น” กลุ่ม ขาดสมาธิ

  • เด็กจะไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น วอกแวกกับสิ่งเร้าบ่อย
  • เด็กจะไม่สามารถทำงานที่พ่อแม่หรือครูสั่งได้สำเร็จ
  •  ไม่รับฟังเวลาสอน ชอบทำมึนๆ
  • เด็กจะทำงานผิดพลาดบ่อย เพราะไม่ตั้งใจฟัง ขาดระเบียบวินัย
  • เด็กจะไม่ชอบงานที่ใช้ความคิดหรือสมาธิ ชอบเล่นสนุกมากกว่า
  • ขี้ลืม ทำของหายบ่อย

สาเหตุของโรค “สมาธิสั้น” ส่วนใหญ่จะเกิดได้จากหลายปัจจัย

  1. กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเป็น “สมาธิสั้น” มีโอกาสที่จะทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้นมากถึง 4-5 เท่า โดยเกิด    จากความบกพร่องของสารสื่อประสาทบางตัวในสมอง
  2. การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากมารดาที่ ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือได้รับสารเคมี สารตะกั่ว   ขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงปัจจัยการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือช็อคโกแลต มากจนเกินไป การขาดวิตามิน เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ และการดูโทรทัศน์หรือเล่นโทรศัพท์ เล่นเกม มากเกินไปก็เป็นอีกนึงสาเหตุที่ทำให้เป็นโรค “สมาธิสั้น”

การรักษาโรค “สมาธิสั้น” หลักๆ จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน และส่วนใหญ่ควรรักษาแบบทั้ง 2 วิธีร่วมกัน

1.  การให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องของโรคสมาธิ พร้อมไปกับการดูแลควบคุมพฤติกรรมของเด็กด้วย

  • คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองทุกท่าน ต้องทำความเข้าใจและยอมรับ กับตัวเด็กเอง ทั้งด้านของพฤติกรรม อารมณ์    การเข้าสังคม รวมถึงการเรียนอีกด้วย ว่าอาการเกิดจากโรค “สมาธิสั้น” และการดูแล ควร ค่อย ๆ เป็นค่อยๆ ไป ไม่ รุนแรง พูดคุยด้วยเหตุผล แล้วค่อยๆ ปรับไปทีละขั้น

 

2.  การรักษาด้วยยา การพาเด็กไปเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะประเมินระดับความพฤติกรรมของตัว เด็ก  หากมีอาการรุนแรงก็จะได้รับยา สมาธิสั้น มาทาน ถ้าหากเด็กในบางรายไม่มีอาการรุนแรง จะได้รับคำแนะนำ ในการปรับพฤติกรรมมาแทน

( แต่ยา “สมาธิสั้น” จะมีข้อเสียหรือผลข้างเคียงสำหรับเด็กบางราย เช่น มีอาการเบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ปวดหัว  อาเจียน ง่วงซึม เป็นต้น เด็กแต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป )

ทั้งนี้การรักษาแบบใช้ยา “สมาธิสั้น” ก็สามารถใช้ได้กับเด็กบางรายเท่านั้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงต้องมีการ เลือกหาวิธีในการรักษาหรือลดอาการ “สมาธิสั้น” ของเด็ก โดยมีอีกวิธีนึง คือ การเลือกรับประทานอาหารหรือหาอาหารเสริมจะมีช่วยส่วนในการลดอาการดังกล่าวของโรค “สมาธิสั้น” ได้

  • อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว เนื้อไก่ ไข่ เนื้อแดง ปลาแซลมอน โยเกิร์ตไขมันต่ำ หรือชีส
  • อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากชาเขียว (แอล-ธีอะนีน) ที่จะช่วยในการเพิ่มสมาธิ บำรุงสมอง การจดจำที่ดีให้กับเด็กๆ

มีวิจัยเกี่ยวกับ สารสกัดจากชาเขียว (แอล-ธีอะนีน) ว่า เด็ก “สมาธิสั้น” นอกจากจะมีปัญหาเรื่องสมาธิแล้ว มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนร่วมด้วย สารสกัดจากชาเขียว จะช่วยเพิ่มสมาธิ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และกรดอะมิโน L-tyrosine ช่วยลดอาการ “สมาธิสั้น” ในเด็กกลุ่มนี้ได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Alpha-B มีสารสกัด แอล-ทีอะนีน เป็นตัวเดียวที่ช่วยในด้านสมาธิโดยตรง มีปริมาณมากถึง 200 mg.

ด้วยนวัตกรรมใหม่ (Alpha Focus) ที่เข้าไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของน้องให้ดีขึ้น และในงานวิจัยช่วยลดอาการ “สมาธิสั้น” ในเด็กกลุ่มนี้ด้วยค่ะ

สิ่งสำคัญในการรักษาและดูแลเด็กๆ ที่เป็น “สมาธิสั้น” คือ ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น ความใส่ใจ ค่อยๆ ดูแล ค่อยๆ รักษา ไม่รีบร้อนและรุนแรง

Facebook
Twitter
LinkedIn
สารบัญบทความ
เด็กพูดเก่ง alpha-b
03723
4 ข้อดี ทำไมถึงควรชวนลูกคุยให้เยอะขึ้น

4 ข้อดี ทำไมถึงควรชวนลูกคุยให้เยอะขึ้น การพูดคุยกับลูกถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาทั้งในด้านการพูด การสื่อสา…

pic เลี้ยงเด็กสมาธิสั้น alpha-b
03548
6 เทคนิคเลี้ยงเด็ก “สมาธิสั้น”

สาเหตุมาจากสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะในสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมเรื่องสมาธิ ความจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื…

คู่มือดูแล เด็กสมาธิสั้น alpha-b
03549
คู่มือเบื้องต้นดูแลน้องสมาธิสั้น

Alpha-B แจกคู่มือเบื้องต้นดูแลน้อง “สมาธิสั้น” อาการที่พบในเด็กสมาธิสั้น อาการขาดสมาธิ Inattention ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง hyp…

กิจกรรม เด็กสมาธิสั้น alpha-b
03893
กิจกรรมเสริมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

กิจกรรมเสริมสำหรับเด็ก “สมาธิสั้น”  ผู้ปกครองสามารถนำไปปรับใช้และสามารถหาอุปกรณ์ที่มี และทำได้ง่ายๆ จากที่บ้าน ช่วยเสริม…

อ่านบทความเพิ่มเติม