Alpha-B แจกคู่มือเบื้องต้นดูแลน้อง “สมาธิสั้น”
อาการที่พบในเด็กสมาธิสั้น
- อาการขาดสมาธิ Inattention
- ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง hyperactivity-impulsivity
- หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
อาการทั้งสองแบบร่วมกัน Combined Subtype
ปัจจจุบันการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดในผู้ป่วย “สมาธิสั้น” คือ การรักษาแบบผสมผสานหลาย ๆ ด้าน เช่น
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.การช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
3.การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
4.การรักษาด้วยยา
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ได้แก่
“ ลด สิ่งเร้า + เพิ่ม สมาธิ + เพิ่ม การควบคุมตนเอง ”
ลด สิ่งเร้า
จัดหาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใคร รบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เด็กเสียสมาธิ หากิจกรรมช่วยเสริมสมาธิ พักผ่อนในที่สงบ เลี่ยงคนพลุกพล่าน จำกัดการดูทีวีหรือเล่นคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 30 นาที
เพิ่ม สมาธิ
กำหนดช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ”โดยในวันแรกอาจเริ่มที่15 นาทีก่อน แล้วจึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ
เพิ่ม การควบคุมตนเอง
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่น้อง และจัดทำตาราง เวลาให้ชัดเจนให้มีระเบียบที่แน่นอน
- การลงโทษ ควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น งดดูทีวี กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ แทนการใช้ความรุนแรงกับน้อง
ประเมินความก้าวหน้าของน้อง สนใจพฤติกรรม “ถูก” มากว่า ตำหนิดุ ว่า ในพฤติกรรม “ผิด”และควรให้คำชม ให้กำลังใจ หรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป